วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Sweet Corn
ข้าวโพดหวาน


ข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุึกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป


ข้าวโพดเป็นพืชจำพวกหญ้า มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ใบจะเป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30-100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และลำต้นฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียวพอแก่เป็นสีนวล


ที่มา http://www.vegetweb.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99/


กินข้าวโพดหวาน ได้ประโยชน์ มากกว่าที่คุณคิด

การกินข้าวโพดหวานต้ม สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ และมะเร็งได้ การต้มทำให้ข้าวโพดหวาน
ปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระ หรือที่บางคนเรียกกันว่า แอนตี้ออกซิแดนท์มาหลายตัว และที่สำคัญตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า “กรดเฟอรูลิก”
(Ferulic acid ) ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่เป็นตัวช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพ กรดเฟอรูลิกเป็นสารต้านอนุมูล
อิสระจึงถูกใช้สำหรับต่อต้านการแก่ (aging) ของเซลล์ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด รักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อ
ต่อต้านผลกระทบจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต (จึงป้องกันมะเร็งผิวหนังได้)

สารต้านอนุมูลอิสระ
อนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เนื่องจากเป็นอนุภาคไม่คงตัว จึงทำปฏิกิริยา
กับโมเลกุลที่อยู่ติดกันได้อย่างรวดเร็ว เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่าออกซิเดชัน (oxidation) ซึ่งอาจก่อผลกระทบที่อันตรายต่อร่างกายได้

ตัวการก่อโรคร้าย
เมื่ออนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับรหัสพันธุกรรมดีเอ็นเอในนิวเคลียสของเซลล์ อาจทำให้เซลล์ กลายพันธุ์และกลายเป็นเซลล์
มะเร็ง ถ้าเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด จะกระตุ้นให้เกิดไขมันสะสมในหลอดเลือด นำไปสู่โรคหัวใจ
และหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีส่วนทำให้เกิดต้อกระจก ภูมิต้านทานต่ำ โรคข้ออักเสบ และแก่ก่อนวัย

บทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระ
สารต้านอนุมูลอิสระทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระโดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจาก
สารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสร้างเองแล้ว ในวิตามิน แร่ธาตุ และพฤกษเคมีก็มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ด้วย และช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ได้ดี

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=413bebe00033d190&pli=1



ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวโพด

ข้าวเกรียบข้าวโพด


นมข้าวโพด


ข้าวโพดกระป๋อง



เต้าฮวยข้าวโพด



การทำน้ำนมข้าวโพด




เครื่องแกะเมล็ดข้าวโพด

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Packaging Design



























“บรรจุภัณฑ์” ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์สำหรับการขาย (Sales packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่หนึ่ง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขายของให้กับผู้ใช้รายสุดท้าย หรือผู้บริโภค ณ จุดซื้อ บรรจุภัณฑ์กลุ่ม (Group packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สอง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ที่จุดซื้อกลุ่มสินค้าที่มีจำนวนขายมากกว่าหนึ่ง ไม่ว่าสินค้านั้นจะถูกขายให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภคหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นี้จะถูกใช้เพื่อการดึงสินค้าจากชั้นวางของ ณ จุดขายก็ตาม บรรจุภัณฑ์นี้สามารถถูกดึงออกจากสินค้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเฉพาะตัว ของสินค้า บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สาม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการลำเลียงและขนส่งสินค้า ที่ขายจำนวนมากหรือกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งไม่รวมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทาง ถนน รางเลื่อน เรือหรือทางอากาศ

"การออกแบบบรรจุภัณฑ์" ขั้นตอนการออกแบบ ก่อนอื่นต้องมีจุดมุ่งหมายก่อน คือ ต้องศึกษาข้อมูลว่าโพสิชั่นตำแหน่งของบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่งในตลาดเป็นอย่าง ไร ก่อนที่จะออกแบบกราฟฟิคของบรรจุภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง ถ้ามีอยู่ในตลาดอยู่แล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการออกแบบจากตำแหน่งของสินค้า ต่อมาก็ต้องหาจุดขายของสินค้า ที่จะโฆษณาบนบรรจุภัณฑ์ สองสิ่งนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตั้งจุดมุ่งหมายของการออกแบบกราฟฟิกบน บรรจุภัณฑ์ การ วางแผนออกแบบบรรจุภัณฑ์ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลขั้นต้นเพื่อเตรียมร่างจุดมุ่งหมายและขอบ เขตการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ก่อนที่จะปรับปรุงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ อาจวางแผนได้ 2 วิธี คือ


1. ปรับปรุงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันโดยตรงได้ด้วยบรรจุ ภัณฑ์ที่ดีกว่าหรือด้วยงบที่ถูกกว่า การตั้งเป้าหมายและวางแผนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว ย่อมต้องศึกษาสถานภาพบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่ง และรู้ถึงกลยุทธ์การตลาดที่จะแข่งกับคู่แข่งขัน และนโยบายของบริษัทตัวเอง


2. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แหวกแนวสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันโดยทั่วไปเราสามารถ วิเคราะห์การวางแผนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยใช้หลัก 5W + 2H ได้ดังนี้


• WHY ทำไม มีปัจจัยอะไรทำให้ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ทำไมต้องพัฒนากราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์


• WHO ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์นี้ แผนกใดเกี่ยวข้อง มีบุคคลใดบ้าง


• WHAT อะไร จุดมุ่งหมายการพัฒนาบรรจุภัณฑ์คืออะไร ข้อจำกัดในการออกแบบมีอะไรบ้าง จุดขายของสินค้าคืออะไร การใช้งานของบรรจุภัณฑ์คืออะไร


• WHERE ที่ไหน สถานที่ที่จะวางจำหน่ายสินค้าอยู่ที่ไหน ขอบเขตพื้นที่ที่จะวางขายสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบครอบคลุมพื้นที่มากน้อย แค่ไหน ถ้าไม่ศึกษาให้ดีพอนำบรรจุณฑ์ไปวางอาจใหญ่เกินไป วางไม่สวย มองเห็นบรรจุภัณฑ์แล้วไม่เด่นพอ ทำให้จะเปลี่ยนแปลงอะไรตอนนั้นคงเสียต้นทุนสูงมากเพราะต้องเริ่มใหม่หมด


• HOW อย่างไร จะใช้เทคโนโลยีอย่างไหนที่เหมาะสมดี


• HOW MUCH งบค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีเท่าไร


• WHEN เมื่อไร ควรจะเริ่มงานการพัฒนาเมื่อไร เมื่อไรจะพัฒนาเสร็จ วางตลาดเมื่อไร ต้องมีการวางแผนจะได้เสร็จทัน


ที่มา : http://thaipackaging.blogspot.com/2009/06/blog-post_3125.html